การถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับเกษตรกรรายย่อยภายใต้แนวคิดธรรมชาติช่วยธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ

VDO.


Header :  การถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับเกษตรกรรายย่อยภายใต้แนวคิดธรรมชาติช่วยธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ
Owner :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา มิ่งฉาย
Co-Owner :   -
keywords :   การถ่ายทอดเทคโนโลยี, .ชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์, ก๊าซชีวภาพ
Department :  คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Description :  โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับเกษตรกรรายย่อยภายใต้แนวคิดธรรมชาติช่วยธรรมชาติตามแนวพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ขยายผลองค์ความรู้เทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพฯ และ (2) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนทางสังคม ประเมินการยอมรับเทคโนโลยี การดำเนินงานใน 4 พื้นที่ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ นครศรีธรรมราช และพังงา ในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนเมษายน 2559 มีบุคคลเป้าหมายเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี 193 ราย ประกอบไปด้วย เกษตรกร ชาวสวนยางพารา ชาวประมง ผู้ประกอบการวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นมีภาคีเครือข่ายจากภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 106 ราย จาก 13 เครือข่าย ผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ พบว่า กลุ่มเป้าหมายพึงพอใจในภาพรวมในระดับมาก (น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย 3.93) โดยกลุ่มเป้าหมายพึงพอใจมากที่สุดในด้านการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย 4.31) รองลงมาพึงพอใจมากคือ ด้านความเหมาะสมของวิทยากรหลักและคณะทำงานถ่ายทอดฯ (น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย 4.18) ความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย 4.11) ความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตร (น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย 3.63) และด้านช่วงเวลาและระยะเวลาการถ่ายทอดเทคโนโลยี (น้ำหนักคะแนนเฉลี่ย 3.45) ตามลำดับ นอกจากนั้น ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ เป็นการสร้างรายได้ให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนรักษ์พลังงานบ้านห้วยบง เป็นผู้รับการฝึกทักษะการผลิตและเป็นผู้ผลิตสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและดำเนินการธุรกิจเพื่อสังคมโดยทั่วไป ขณะที่ผลตอบแทนทางสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ มูลค่าปัจจุบันของผลลัพธ์ทางสังคมเกิดประโยชน์กับทั้งครัวเรือนที่ติดตั้งชุดกำจัดก๊าซชีวภาพ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มคนรักษ์พลังงานบ้านห้วยบง องค์กรภาครัฐ และชุมชน และผลตอบแทนทางสังคมที่เกิดขึ้น (SROI) มีค่าเท่ากับ 2.86 เป็นผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศต่อไป ส่วนการประเมินการยอมรับเทคโนโลยีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ จากการรับรู้คุณสมบัติเทคโนโลยีชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ กลุ่มเป้าหมายให้การยอมรับในทุกด้านของนวัตกรรมคือ ด้านคุณประโยชน์ ด้านความสอดคล้องเหมาะสม ด้านความยุ่งยากซับซ้อน ด้านความสามารถการแบ่งทดลองได้ และด้านการสังเกตเห็นผลได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามควรมีการเพิ่มความสามารถของศูนย์การเรียนรู้ให้สามารถมีเทคโนโลยีการผลิต และควบคุมมาตรฐานของชุดกำจัดฯ โดยร่วมกับภาควิชาการในพื้นที่ เพื่อสร้างความยั่งยืนของการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่อไป
More information :  
Add documents :  ดาวน์โหลด
Research Branch :   เกษตรศาสตร์และชีววิทยา
 

Related Images

Research Information and Data Center
National Research Council of Thailand
196 Paholyotin rd., Chatuchak, Bangkok 10900
Tel. 02-561-2445 | contact@nrct.go.th