การทำเครื่องประดับในรูปแบบล้านนาโดยใช้พลอยเนื้ออ่อนเขตภาคเหนือตอนบน

VDO.


Header :  การทำเครื่องประดับในรูปแบบล้านนาโดยใช้พลอยเนื้ออ่อนเขตภาคเหนือตอนบน
Owner :  รศ.ดร.ปัญจวรรณ ธนสุทธิพิทักษ์
Co-Owner :   1. รศ.ดร. ปัญจวรรณ ธนสุทธิพิทักษ์ ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. ผศ.ดร. พิสิษฐ์ ลิ้มตระกูล ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. อาจารย์ ดร. วีรพันธ์ ศรีจันทร์ ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. อาจารย์ ดร. กันยารัตน์ ขวัญศิริกุล ธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5. อาจารย์ ดรณ์ สุทธิภิบาล คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา 6. อาจารย์ ดร. ภาณุพงศ์ จงชานสิทโธ ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา
keywords :   เครื่องประดับล้านนา, พลอยเนื้ออ่อน, ภาคเหนือ
Department :  ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Description :  แม้ว่าประเทศไทยจะมีแหล่งพลอยคอรันดัมกระจายอยู่ในหลายจังหวัด มีการนำมาใช้เป็นอัญมณีเป็นเวลานานจนหมดปัจจุบันต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อมาทำเครื่องประดับ แต่ไม่ค่อยมีการให้ความสำคัญกับแหล่งพลอยเนื้ออ่อน ซึ่งเป็นแร่ชนิดอื่นๆ ยกเว้นคอรันดัม อาจเนื่องจากมีราคาถูก ไม่เป็นที่นิยม คุณภาพต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยมีแหล่งพลอยเนื้ออ่อนประเภทโกเมน ควอตซ์ ฟลูออไรต์แคลไซต์ และอื่นๆ หลายแหล่ง รวมทั้งหินที่มีลวดลายสวยงาม เช่น หินอ่อน หินแกรนิต ที่เรียกว่า ornamental stone ที่อาจนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้ แต่ไม่มีการสำรวจเพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องประดับอย่างจริงจัง การที่พลอยเนื้ออ่อนที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน เริ่มหายากมากขึ้น ทำให้มีการนำแร่ และหินหลากหลายชนิดมาทำเป็นเครื่องประดับกันมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความแข็ง ความคงทน เหมือนในอดีต ขอให้มีสีสันสวยงามสะดุดตา แต่การนำแร่ใหม่ๆ เหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องประดับ ต้องทำเป็นเครื่องประดับที่ไม่โดนกระทบกระแทกเวลาสวมใส่ เช่น ต่างหู เข็มกลัด หรือจี้ จึงควรมีการศึกษาคุณสมบัติทางอัญมณีโดยละเอียด นอกจากนั้นควรทำการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพ โดยเฉพาะเรื่องของสี ว่าพลอยชนิดใดสามารถนำมาทำให้สีสวยงามขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร ก่อนนำไปใช้เป็นเครื่องประดับ เครื่องประดับที่เป็นที่รู้จักกันในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนมากเป็นเครื่องประดับที่ทำจากเงินซึ่งไม่ค่อยมีการนำพลอยมาใช้ หรือเป็นพลอยที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เทอร์คอยซ์ลาพิสลาซูรี มาร์คาไซต์ เป็นต้น ซึ่งมีต้นทุนสูงในการนำแร่หรือหินจากต่างประเทศมาใช้ แหล่งเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือคือแหล่งถนนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ และในจังหวัดน่านซึ่งมีร้านเครื่องประดับเงินหลายร้าน แต่รูปแบบของเครื่องประดับมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ยังไม่มีเอกลักษณ์ของการเป็นล้านนา ถ้าสามารถนำหิน หรือแร่ที่มีความสวยงาม หาได้ง่ายในเขตภาคเหนือมาใช้กับเครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว โดยมีการออกแบบใหม่ให้เป็นเอกลักษณ์ของล้านนา คาดว่าจะเป็นจุดขายที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนการนำเข้าพลอยจากต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของแหล่งแร่ แหล่งหิน ดังกล่าวอีกด้วย จากประเด็นปัญหาดังกล่าวทางสาขาอัญมณีวิทยามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสำรวจแหล่งแร่ และการปรับปรุงคุณภาพพลอย จึงได้ร่วมมือกับสาขาวิชาสิ่งทอ และเครื่องประดับวิชาเอกออกแบบเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบอัญมณี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคเหนือให้สามารถผลิตเครื่องประดับเงินที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา โดยใช้แร่หรือหินที่สามารถหาได้ง่ายในภาคเหนือ เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้เครื่องประดับในรูปแบบใหม่เป็นจุดขายของภาคเหนือ
More information :  
Add documents :  ดาวน์โหลด
Research Branch :   วิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
 

Related Images

Research Information and Data Center
National Research Council of Thailand
196 Paholyotin rd., Chatuchak, Bangkok 10900
Tel. 02-561-2445 | contact@nrct.go.th